ทำไมน้ำทำให้ระบบหล่อเย็นหรือระบบระบายความร้อนหม้อน้ำมีปัญหา ?
ตามหลักเคมี สูตรโครงสร้างทางเคมีน้ำ คือ H20 น้ำ H2O จะทำปฏิกิริยากัดกร่อนแบบเคมีไฟฟ้า (Electrochemical, Oxidation) กับชิ้นส่วนต่างๆของระบบหล่อเย็น ที่มีส่วนของประกอบของโลหะเหล็ก (Fe) หรือ อลูมิเนียม (Al) เกิดเป็น สนิมเหล็ก (Fe2O3) สะเก็ดอลูมิเนียม Al(OH)3
ขึ้นในชิ้นส่วนต่างๆ ของระบบหล่อเย็น ที่มีโลหะเหล่านี้เป็นส่วนประกอบ เช่น
- รังผึ้งหม้อน้ำ
- วาล์วน้ำ
- ปั๊มน้ำ
- ท่อทางต่างๆ
- เสื้อสูบ
- ปลอกสูบ
- ออยคูลเลอร์
ส่วนประกอบเหล่านี้ต้องสัมผัสกับน้ำโดยตรงจนเกิดการผุกร่อน ทำให้ระบบหล่อเย็นและเครื่องยนต์ค่อยเกิดความเสียหาย จนกระทั่งเกิดปัญหาอย่างรุนแรงกับระบบหล่อเย็น
การเติมน้ำเปล่าคุณภาพดีก็ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องสนิมและการผุกร่อนไดั
ปัญหาเรื่องความร้อนของหม้อน้ำ ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้น้ำหรือการเติมน้ำเปล่าลงในหม้อน้ำ การอุดตันจะค่อยๆ สะสมตัว จนกระทั่งระยะเวลาหนึ่งจะเกิดปัญหา น้ำไหลเวียนในรังผึ้งได้ไม่ดีจนเกิดความร้อนขึ้นสูง
ตามที่กล่าวไปตอนต้นสูตรโครงสร้างทางเคมีน้ำนั้นคือ H2O ไม่ว่าจะน้ำคุณภาพดี เช่นน้ำดื่ม น้ำกลั่น หรือน้ำปะปา สูตรทางเคมียังคงเหมือนเดิมคือ H2O ซึ่งทำปฎิกิริยากัดกร่อนชิ้นส่วนในระบบหล่อเย็นอยู่ดีดังนั้นการใช้น้ำคุณภาพดีเติมหม้อน้ำ ทดแทนน้ำยาหล่อเย็นหรือน้ำยาหม้อน้ำได้ จึงเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง
ส่วนน้ำที่ซึ่งมาจากแหล่งน้ำบาดาลใต้ดิน หรือน้ำตามแหล่งธรรมชาติ ที่เราเรียกว่า น้ำกระด้าง นอกจากจะกัดกร่อนหม้อน้ำ ให้ผุกร่อนแล้ว ในน้ำกระด้างมักจะมีแร่ธาตุ แคลเซียม Ca แมกนีเซียม Mg ปนอยู่ในปริมาณมาก
เมื่อเติมน้ำเหล่านี้ ลงไปในหม้อน้ำ จะเกิดหินปูน แคลเซียมคาร์บอเนต CaCo3 และแมกนีเซียมคาร์บอเนต
คาร์บอเนต CaCo3 และแมกนีเซียมคาร์บอเนต MgCO3 ก่อตัวเป็นคราบตระกรัน ขึ้นภายในแผงระบายความร้อนหม้อน้ำ ตระกรันเหล่านี้ทำให้หม้อน้ำเกิดการอุดตัน ตระกรันจะขัดขวางทางเดินของน้ำในแผงระบายความร้อนในรังผึ้ง เมื่อน้ำไหลผ่านแผงระบายความร้อนได้น้อย ความร้อนจะขึ้นสูง เนื่องจากไม่สามารถระบายความร้อนออกจากเครื่องยนต์ได้ทันนั่นเองนอกจากนั้นผลกระทบที่ตามมาอีกคือ เมื่อความร้อนสูงขึ้นมาก ลูกสูบจะเกิดการขยายตัว เสียดสีกับผนังสูบอย่างรุนแรง เกิดการไหม้ ลูกสูบติดตาย ส่งผลให้ฝาสูบโก่ง จนเป็นเหตุทำให้เครื่องยนต์ใช้งานไม่ได้อีก ต้องยกเครื่องหรือเปลี่ยนเครื่องใหม่
ทำไมระบบหล่อเย็นหรือระบบระบายความร้อนหม้อน้ำ จึงจำเป็นต้องใช้น้ำยาหล่อเย็น หรือ Coolant ?
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า ชิ้นส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ระบบหล่อเย็น หรือระบบระบายความร้อนหม้อน้ำ เช่น รังผึ้งหม้อน้ำ วาล์วน้ำ ปั๊มน้ำ ท่อทางต่างๆ เสื้อสูบ ปลอกสูบ ออยคูลเลอร์ ส่วนใหญทำมาจากวัสดุประเภท เหล็ก เหล็กหล่อ (cast iron) หรืออลูมิเนียม (Aluminum) ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องป้องกันไม่ให้โลหะเหล่านี้ ถูกกัดกร่อน หรือผุกร่อน การใช้น้ำยาหม้อน้ำหรือน้ำยาหล่อเย็น coolant จึงมีความจำเป็นต่อการดูแลรักษาชิ้นส่วนต่างๆ โดยน้ำยาหม้อน้ำ coolant จะมีส่วนผสมของสารป้องกันการกัดกร่อน (Corrosion Inhibitor) รวมอยู่ด้วย หม้อน้ำที่ใช้น้ำยาหล่อเย็น coolant อยู่ตลอดเวลาจึงมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
นอกจากนี้ น้ำยาหม้อน้ำที่มีคุณภาพสูง นอกจากจะช่วยป้องกันการกัดกร่อนแล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันการก่อตัวของคราบตะกรันและการเกิดฟองอากาศภายในหม้อน้ำ น้ำยาหม้อน้ำหรือน้ำยาหล่อเย็นที่มีคุณภาพสูง ยังไม่ทำอันตรายต่อชิ้นส่วนต่างๆ ภายในระบบหล่อเย็น เช่น รังผึ้ง หม้อน้ำ ปั้มน้ำ วาล์วน้ำ ท่อยาง ประเก็นยางต่างๆ ภายในระบบหล่อเย็น หม้อน้ำจะมีสภาพเหมือนใหม่อยู่ตลอดเวลา แม้จะผ่านการใช้งานมายาวนานหลายแสนกิโลเมตร (น้ำยาหม้อน้ำคุณภาพสูงจะสามารถใช้งานได้กว่า 500,000 กิโลเมตร โดยชิ้นส่วนๆ ต่างๆของระบบหล่อเย็นยังมีสภาพเหมือนใหม่อยู่ตลอดเวลา) เมื่อระบบหล่อเย็นมีอายุการใช้งานยาวนาน เครื่องยนต์ก็จะมีอายุยาวนานสูงสุดตามไปด้วย ดังนั้นถ้าจะเลือกน้ำยาหล่อเย็นใช้ จึงควรเลือกใช้น้ำยาหม้อน้ำที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้เหมาะกับเครื่องยนต์ที่มีราคาแพง หรือใช้งานหนัก เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องหม้อน้ำ ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้ต่อเนื่องตลอดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ได้อีกด้วย
Coolant น้ำยาหล่อเย็น น้ำยาหล่อเย็นสำหรับรถแทรกเตอร์ น้ำยาหล่อเย็นเครื่องยนต์ที่ใช้งานหนัก ประโยชน์ของน้ำยาหล่อเย็น สารหล่อเย็น